วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ทุกคนมารู้จักกับ นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros hornbill) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นนกที่เราสามารถพบได้ตามป่าเขาเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า นกเงือกหัวแรดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย
โดยนกเงือกทุกชนิดในประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีการศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 และสำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนไปศึกษาถึงพฤติกรรมของนกเงือกหัวแรดกันแบบละเอียด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาและการขยายพันธุ์เพื่อไม่ให้นกเงือกสูญพันธุ์ไปจากเรา
ลักษณะทั่วไปของ นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros hornbill)
เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวประมาณ 120 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยตัวเมียมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีโหนกบริเวณหูและตาซีดกว่าตัวผู้
นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ขนบนปีกและตัวสีดำ ท้องและหางมีสีขาวและมีแถบสีดำพาดตามขวางตรงใกล้ปลายหาง คล้ายกับนกกาฮัง โหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นทางด้านบน ตรงโคนโหนกมีสีแดงบริเวณตอนหน้าของส่วนที่โค้งขึ้นทางด้านบนคล้ายนอก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ลักษณะและอุปนิสัย
นกเงือกหัวแรดที่มีขนาดตัวเต็มวัยทั้งสองเพศจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยไม่แตกต่างกันมาก ตัวผู้จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย ลักษณะทั่วไปคล้ายนกกก มีขนตามตัวสีดำ ไม่มีแถบขาวที่ปลายปีก ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบดำพาด จะงอยปากมีสีเหลืองที่ทาด้วยน้ำมันจากต่อมที่โดนหาง ปากล่างสีขาวงาช้าง โหนกสีแดงสดด้านหน้าของโหนกโค้งขึ้น ตัวผู้ม่านตาสีแดง แนวล่างของโหนกมีเส้นสีดำตลอดแนว ตัวเมียมีม่านตาสีขาว โหนกไม่มีเส้นสีดำ ตัววัยรุ่นโหนกด้านหน้าตรง
นกเงือกหัวแรดบินเสียงดังมาก และจะมีเสียงร้องคล้ายนกกก อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของต้นไม้ในป่าดงดิบ จนถึงป่าดงดิบเขาที่ระดับสูง 1220 เมตรจากระดับน้ำทะเล การปรากฎตัวของนกเงือกหัวแรดแต่ละครั้งเราจะสามารถพบได้ในช่วงที่นกเงือกหัวแรดออกหาอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการออกหาอาหารมาให้ลูกเล็กในรังที่อาศัยอยู่ในรังรอพ่อแม่
ส่วนมากลูกนกจะใช้เวลานานพอสมควรที่จะเติบโตและบินได้ การหาอาหารของพ่อแม่นกจะมีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การถูกล่าจากนายพรานหรือสัตว์ชนิดต่างๆ อาจจะทำให้ลูกนกอดตายจากการรออาหารจากพ่อแม่ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้ว
ถิ่นอาศัย
เราสามารถพบนกเงือกหัวแรดได้ในประเทศมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยเราจะพบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป หากเราจะไปดูนกเงือกเราสามารถไปดูได้ตามสวนสัตว์ต่างๆ ที่มีการจัดสดงนกเงือกพันธุ์ต่างๆ
อาหาร
นกเงือกหัวแรดกินทั้งผลไม้และสัตว์ แต่ชอบผลไม้มากกว่า เช่น ไทร ทังป่า ตาเสือใหญ่ ลูกพน หว้า ยางโอน ฯลฯ จำพวกสัตว์ เช่น ตั๊กแตน กิ้งกือ กิ้งก่าบิน ตะขาบ ฯลฯ
พฤติกรรมและการสืบพันธุ์
นกเงือกหัวแรดจะชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบในระดับความสูงไม่เกิน 4,000 ฟุต หรือ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล มักเกาะบนกิ่งไม้สูง มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวแรดเหมือนกับนกเงือกอื่น ๆ โดยทำรังไข่อยู่ตามโพรงไม้ โพรงไม้ที่อยู่สูงมากที่เราสามารถพบเห็นได้ให้สาระคดีนั้นเอง
ตัวผู้จะเป็นฝ่ายออกไปหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนก เป็นเรื่องที่ดีและน่ารักมากใช่ไหมล่ะครับ และเมื่อลูกนกเจริญเติบโตขึ้นจนคับโพรง แม่นกจะเป็นฝ่ายพังโพรงออกมาก่อน เพื่อให้ลูกนกอยู่ได้อย่างสบายขึ้น และช่วยพ่อนกหาอาหารมาป้อนลูก ซึ่งพฤติกรรมการพังโพรงของแม่นกออกมาก่อนลูก จะพบได้เฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ คือ นกเงือกหัวแรด และนกกกเท่านั้น
การทำรังและเลี้ยงลูก
นกเงือกหัวแรดจะปิดรังในเดือนมีนาคม ลูกนกออกจากรังเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แม่นกจะออกจากโพรงก่อนลูกนกเช่นเดียวกับนกกก พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเป็นแบบ พ่อ แม่ช่วยกันเลี้ยง มักทำรังในต้นยาง ต้นตะเคียน หว้า กาลอ ฯลฯ
สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพปัจจุบันของนกเงือกหัวแรด พบว่าปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยสถานที่สามารถชมได้ในประเทศไทย คือ สวนสัตว์ดุสิต , สวนสัตว์เปิดเขาเขียว , สวนสัตว์นครราชสีมา , สวนสัตว์สงขลา , สวนสัตว์เชียงใหม่ และสวนสัตว์อุบลราชธานี เป็นต้น
ปัจจัยการถูกคุกคามของนกเงือกหัวแรด
องค์กรอนุรักษ์นกสากล (BirdLife International) จะรวบรวมข้อมูลเพื่อปรับปรุงสถานภาพทางการอนุรักษ์ระดับโลกของนกแต่ละชนิดในบัญชีแดงของ IUCN ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทุกปีจะมีจำนวนชนิดที่ถูก“ยกระดับความน่าเป็นห่วง”เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อไม่กี่ปีก่อนมีการเลื่อนสถานภาพของนกชนหิน (Helmeted Hornbill) เป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลก เพราะจากที่เคยถูกถัดเป็นเพียงชนิดใกล้ถูกคุกคาม (NT: Near-threatened) ปัจจุบันข้ามไปสองขั้นเป็นใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต (CR: Critically endangered) สาเหตุหลักของการลดจำนวนลงคือถูกล่าเพื่อเอาโหนก รองลงมาคือการตัดไม้ทำลายป่า
ปีนี้ก็มีการเสนอให้ปรับปรุงสถานภาพของนกเงือกซึ่งส่วนใหญ่ลดลงในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยการสูญเสียถิ่นอาศัยยังคงเป็นปัจจัยหลัก นกป่าตัวโตเช่นนี้ต้องการพื้นที่ป่าที่กว้างขวางอันเต็มไปด้วยพืชอาหารกระจัดกระจายอยู่ทั่ว และมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมีโพรงให้ทำรัง
แต่การล่าก็เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการลดจำนวนในนกเงือกหลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่มีโหนกเป็นเอกลักษณ์แถมยังตัวใหญ่ยักษ์อย่างนกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) ซึ่งถูกเสนอให้ยกระดับจากใกล้ถูกคุกคามเป็นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์